Biological Clock หรือนาฬิกาชีวภาพหรือที่หลายๆ คนคุ้นชินกันดีในนามของ “นาฬิกาชีวิต” เป็นสิ่งที่ถูกติดตั้งไว้ในร่างกายของมนุษย์ที่จะคอยบอกเวลา ในเวลาเราตื่นในยามเช้า หลับในตอนกลางคืน หรือรับประทานอาหารในช่วงเช้า กลางวัน และเย็น เวลาในระบบการออกกำลังกายรวมถึงเวลาขับถ่าย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ คือ กลางวัน กลางคืน และปรับระบบต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะระบบฮอร์โมน
ปัจจุบันที่ผู้คนทำงานกลางคืน ทั้งที่เป็นเวลาหลับนอนตามกฎของนาฬิกาชีวิต แต่ยังคงดำเนินชีวิตอยู่ได้ทั้งที่ดู เป็นการฝืนธรรมชาติหรือนาฬิกาชีวิต สามารถปรับกลางวันให้เป็นกลางคืนได้ หรือไม่นั้น ต้องขออธิบายว่าในร่างกายของเราจะมีตาที่ 3 อยู่ในสมองเรียกว่า ต่อมไพเนียล (Pineal Gland ) ต่อมนี้จะคอยรับรู้แสงและความมืดโดยสร้างเมลาโทนิน เมื่อแสงลดลง หรือเมื่อถึงเวลามืด ให้เรารู้สึกง่วง นั้นหมายถึงเวลาที่ต้องเข้านอน เพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมอวัยวะ ที่ถูกใช้งานมาตลอดทั้งวันโดยสังเกตเห็นได้ว่าในสัตว์ที่มีสปีชีส์ใกล้เคียงกับเรา เช่นเราจะเห็นลิงหลับในเวลากลางคืนไม่ออกมาปีนต้นไม้ แต่คนเรายังไม่หลับเพราะมีกิจกรรมและมีไฟฟ้าใช้ ทำให้ระบบนาฬิกาชีวภาพแปรปรวนไม่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ นาฬิกาชีวิตของแต่ละคน เหมือนกันหรือไม่ ?
คนไข้ที่ทำงานกลางคืนในระยะยาวมักจะพบว่า เมื่ออายุมาก จะมีอัตราพบเรื่องของโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หลอดเลือดในสมองมากกว่าคนที่นอนปกติ เพราะชีวิตเสียสมดุล ถ้าไม่เชื่อลองสังเกตดูตัวเองหากไม่นอนหนึ่งคืนแล้วชดเชยด้วยการนอนกลางวัน เราเองก็ยังรู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาไม่สดใส ยังไงเสียต้องนอนตอนกลางคืน ดังนั้นนาฬิกาของทุกคนจึงเหมือนกัน “คนที่ทำงานตอนกลางคืนแล้วใช้เวลากลางวันในการนอน แต่ปรับแสงให้มืดเหมือนเช่นตอนกลางคืนเพื่อหลอกร่างกาย ทำได้หรือไม่ ?
คำตอบคือ “ไม่ได้” เพราะนาฬิกาถูกตั้งมาให้รับกับธรรมชาติคือพระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตก สังเกตดูเวลาเดินทางไปต่างประเทศที่เวลากลางวันกับกลางคืนสลับกัน เช่น อเมริกา แม้ว่าเราเดินทางไปถึงตอนกลางวันที่มีแสงแดดเราก็ยังรู้สึกง่วงเพราะนาฬิกาชีวิตเราติดตั้งเช่นนี้ แต่สักระยะหนึ่งเราจะปรับได้ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์
กล่าวคือ ร่างกายจะปรับเข้าหาธรรมชาติ แต่สำหรับคนที่ทำงานกลางคืน แล้วนอนกลางวันได้นั้นเป็นเพียงความเคยชินเท่านั้นเอง แต่นาฬิกาชีวิตไม่ได้ปรับ เมื่อเราใช้ร่างกายสลับกับนาฬิกาชีวิต อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ?
ปัญหาเบื้องต้นคือการนอนไม่พอ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ใช้ชีวิตตามระบบของนาฬิกาชีวิต เพราะโดยปกติคนเราควรนอน 1 ใน 3 เวลาชีวิตตามรอบนาฬิกาชีวิต เราควรตื่นนอนช่วง ตี 5-6 โมงเช้า เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol)จะหลั่ง ซึ่งเป็นฺฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เราลุกขึ้นมาทำงาน โดยฮอร์โมนชนิดนี้ จะดึงน้ำตาลในร่างกายไปใช้เพื่อสร้างพลังงาน เมื่อน้ำตาลถูกนำไปใช้เราจะรู้สึกหิว ในช่วงเวลา 7-8 โมงเช้า และเราต้องรับประทาน และ 4 ชั่วโมงต่อมาเราก็จะต้องรับประทานอีกครั้งเนื่องจากน้ำตาลในเลือดเริ่มต่ำลง กระทั้งเวลา 22.00 น. ร่างกายเราจะเริ่มสร้างเมลาโทนินทำให้เราเริ่มง่วงนอน เข้าสู่สภาวะการหลับ ซึ่งเมลาโทนินทำหน้าที่หลายอย่างนอกจากเรื่องภาวะการนอน เช่น ในการต้านอนุมูลอิสระที่คอยทำร้ายเซลล์ จึงไม่แปลกหากผู้หญิงที่อดนอนจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น เราควรปรับนาฬิกาชีวิตอย่างไร
คุณภาพของการนอนเป็นเรื่องสำคัญ คือการนอนหลับลึกโดยไม่ฝัน ไม่สะดุ้งตื่นระหว่างคืน ได้เวลาหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้นหมายถึงการที่ร่างกายได้รับการซ่อมแซมฟื้นฟู ทำให้อวัยวะทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นควรปิดไฟให้มืดสนิทและหลีกเลี่ยงการเล่นหรือดูมือถือก่อนนอน 90 นาที
ในส่วนของผู้ที่จำเป็นต้องทำงานกลางคืน สิ่งที่ทำได้คือการหลับในช่วงกลางวันเพื่อทดแทน และหาเวลาออกกำลังกาย ตลอดจนรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงๆ เนื่องจากการอดนอนทำให้ภูมิต้านทานต่ำลงด้วยเช่นกัน
Cr. รพ.เปาโล